
TikTok หรือ ติ๊กต็อก คือแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1,092 ล้านบัญชีทั่วโลก โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างหรือแชร์วิดีโอสั้น ๆ เช่น การเต้น, ลิปซิงค์, การแสดงตลก การแชร์ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ยังสามารถปักตระกร้าขายของได้อีกด้วยซึ่งปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แอปนี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 โดยบริษัท ByteDance จากประเทศจีน
เกิดอะไรขึ้นกับ TikTok
แอปพลิเคชัน TikTok ในสหรัฐฯ มีผู้ใช้มากกว่า 170 ล้านคน และไม่สามารถใช้งานในสหรัฐฯได้ตั้งแต่ 19 มกราคม 2568 หลังจากที่มีกฎหมายแบน ซึ่งมีจะมีข้อความแสดงบนหน้าจอว่า “tiktok is temporarily unavailable we're working hard to resolve this issue. thank you for your patiennce” หรือ “TikTok ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างเต็มที่ ขอขอบคุณสำหรับความอดทนของคุณ”
เหตุผลที่ต้องแบน TikTok
เหตุผลที่สหรัฐฯ ต้องแบนติ๊กต็อกเพราะมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เนื่องจากปีที่ผ่านมารัฐสภาสหรัฐฯ มีกฎหมายบังคับให้บริษัท ByteDance (เจ้าของ TikTok) ขายทรัพย์สินภายในวันที่ 19 มกราคม 2568 หากเพิกเฉยจะทำให้แอปติ๊กต็อกถูกแบน ซึ่งวันที่ 17 มกราคม 2568 ที่ผ่านมาผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐฯ ตัดสินว่าการสั่งยุติการให้บริการติ๊กตอกไม่ถือว่าละเมิดบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ฉบับที่ 1 ที่ไม่ให้รัฐบาลลดทอนเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และผู้ใช้งานแอปฯ
โดนัลด์ ทรัมป์ ขยายการแบน TikTok
โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (รัฐบาลที่จะมารับช่วงต่อ) ออกคำสั่งระงับการห้ามให้บริการ TikTok อย่างน้อย 90 วัน เพื่อหาทางแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันทันทีหลังจากที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง ซึ่งต่อมามีการประกาศในวันที่ 20 มกราคม 2568 หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ว่าแอปฯจะเปิดการให้บริการหากรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การนำของโจ ไบเดน (รัฐบาลชุดก่อนหน้า) ไม่ให้คำสัญญาว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายแบน TikTok และหลังจากที่ทรัมป์ได้รับตำแหน่งวันแรกทำให้ Tiktok สามารถกลับมาใช้บริการได้ตามปกติเพื่อให้ชาวอเมริกากว่า 170 ล้านคนใช้งานได้โดยไม่ผิดกฎหมายและธุรกิจขนาดเล็กกว่า 7 ล้านแห่งมีโอกาสเติบโตขึ้น และจะมีการหาวิธีแก้ไขในระยะยาวเพื่อให้ TikTok ยังคงใช้งานในสหรัฐอเมริกาต่อไปได้
ทางออกของติ๊กต็อกในในสหรัฐฯ
แนวคิดในการช่วยใช้ติ๊กต็อกให้ยังคงใช้งานในสหรัฐได้ คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนแห่งใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจ Tiktok ที่อยู่ในสหรัฐฯ โดยบริษัทร่วมลงทุนนี้จะต้องมีบริษัทอเมริกาถือหุ้นด้วย 50% ซึ่งตอนนี้มีผู้ที่สนใจร่วมถือหุ้นด้วย คือ อีลอน มัสก์ และ บริษัท Amazon
และในขณะนี้ 20 มกราคม 2568 ชาวอเมริกาสามารถกลับมาใช้งานแอป Tiktok ได้ตามปกติแล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างและแชร์วิดีโอสั้น ๆ เพื่อสร้างรายได้หรือขยายธุรกิจในสหรัฐฯได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด