ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเวชศาสตร์ด้านสุขภาพและความงามเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้คนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในอนาคตจะมีบริการที่ครอบคลุมและมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้มากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายและนำพาธุรกิจความงามเติบโตได้อย่างมั่นคง
ภาพรวมตลาดเวชศาสตร์ความงามในไทย
ข้อมูลจาก SCB EIC ชี้ให้เห็นว่าปี 2021 ตลาดเวชศาสตร์ความงามไทยมีมูลค่า 50,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อในปี 2022-2030 อุตสาหกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายปัจจัย เช่น การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นจุดหมายของสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงการสุขภาพและความงาม
ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับศัลยกรรมและหัตถการเสริมความงาม เนื่องจากค่าบริการที่เข้าถึงได้ง่ายเมื่อเทียบกับประเทศยุโรปและอเมริกา รวมถึงมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้มีการใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น
การเติบโตของธุรกิจเวชศาสตร์และความงามในประเทศไทยได้รับการขับเคลื่อนจากปัจจัยดังนี้
อิทธิพลของโซเชียลมีเดีย
การโปรโมตผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook, Instagraam,Tiktok และ YouTube ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคทดลองใช้บริการ
จากข้อมูลของ Meta มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนที่แชร์เนื้อหาเกี่ยวกับการแต่งรูปและความงาม
ผลสำรวจจาก University of London พบว่า 90% ของผู้ใช้งานทั่วโลกแต่งรูปก่อนโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย
ค่าบริการที่เข้าถึงได้ง่าย
ค่าบริการในประเทศไทย เช่น เสริมหน้าอกและโปรแกรมฉีดโบท็อกส์ มีราคาที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึงสองเท่า ทำให้คนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติเลือกใช้บริการ
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society)
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป จะเพิ่มมากขึ้น จาก13%ในปี 2021 เป็น 24% ในปี 2026 ส่งผลให้การดูแลเรื่องเวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นที่ต้องการมากขึ้น
การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
บริการด้านเวชศาสตร์ความงามของไทยได้รับการยอมรับในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยในปี 2021 นักท่องเที่ยวจาก ยุโรป สหรัฐ และเอเชีย เพิ่มขึ้นกว่า 20% จากปีที่ผ่านมา
พฤติกรรมการใช้บริการหัตถการความงาม
โดย 44% ของผู้บริโภคเคยใช้บริการหัตถการเสริมความงาม และ 24% สนใจ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และผู้ชายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
กลุ่มการรักษาและบำรุงผิวเป็นบริการยอดนิยม เช่น ทรีตเมนต์ผิวหน้า เลเซอร์ผิว และเลเซอร์กำจัดขน รองลงมาเป็นกลุ่มฉีด เช่น โบท็อก IV Drip ฟิลเลอร์ และสุดท้ายได้แก่กลุ่มลดไขมัน
และปรับรูปร่าง/รูปหน้า เช่น โปรแกรม Hifu/Ulthera เทคโนโลยีกระชับสัดส่วน และการร้อยไหม
69% ของผู้ที่ใช้บริการหัตถการมีงบประมาณเฉลี่ยไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้ง โดยโรงพยาบาลรัฐ
เป็นสถานบริการที่ผู้บริโภคสามารถใช้บริการในงบประมาณที่เข้าถึงได้ง่าย
พฤติกรรมการทำศัลยกรรม
ผู้บริโภค 20% เคยทำศัลยกรรมเสริมความงาม และส่วนใหญ่ทำมากกว่า 1 ประเภท โดยการทำจมูกและดวงตาได้รับความนิยมสูงสุด ซึ่งการทำหัตถการมากกว่า 2-3 ประเภทมีสูงถึง 51% เลยทีเดียว
กลุ่ม Gen Z และ LGBTQIA+ สนใจทำศัลยกรรมมากขึ้น และมีแนวโน้มเลือกสถานพยาบาลตามรีวิวออนไลน์สูงกว่า
ปัจจัยหลักในการเลือกสถานบริการศัลยกรรมคือมาตรฐานความปลอดภัย รองลงมาคือราคาและความน่าเชื่อถือของแพทย์
ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้บริการในสถานบริการหัตถการเสริมความงามจากปัจจัยด้านราคาเป็นหลักและให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยทั้งจากสถานบริการเองและอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการให้บริการ
สรุปภาพรวม พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
การทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Y และ LGBTQIA+ ซึ่งมีแนวโน้มในการใช้จ่ายในด้านความงามสูงอย่างเห็นได้ชัด
กลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้หญิงยังคงเป็นกลุ่มบริโภคที่สำคัญในธุรกิจนี้ ขณะที่กลุ่มผู้ชาย Gen Z เริ่มให้ความสนใจในการดูแลภาพลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น
บริการยอดนิยม บริการและหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงและรักษาผิวพรรณ เช่น โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ , โปรแกรมฉีดฟิลเลอร์ และ โปรแกรมเลเซอร์ กำลังได้รับความนิยม รวมถึงศัลยกรรมเพื่อปรับรูปหน้า เช่น การทำจมูกและตา
การประมาณการในปี 2025 คลินิกความงามและศัลยกรรมจะเป็นอย่างไร
ในปี 2025 คาดการว่าธุรกิจคลินิกความงามและศัลยกรรมในประเทศไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายปัจจัย
จำนวนคลินิกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการแข่งขันในตลาดที่จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคลินิกขนาดกลางและขนาดเล็กที่ใช้กลยุทธ์ราคาประหยัดเพื่อดึงดูดลูกค้า
การเติบโตของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ กลุ่มผู้ชายจะกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะบริการที่ตอบโจทย์เรื่องความกระชับและลดริ้วรอย
การเน้นตลาดต่างชาติ นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะจาก จีน เวียดนาม และตะวันออกกลาง จะยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะช่วยกระตุ้นรายได้
อุปกรณ์ / เครื่องมือที่ทันสมัย โดยปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการนำเทคโนโลยีเขามาวิเคราะห์สภาพปัญหาผิวแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือ การปรึกษาศัลยกรรมออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเสมือนจริง
ตลาดเวชศาสตร์ความงามของไทยมีมูลค่า 50,000 ล้านบาทในปี 2021 และคาดว่าจะเติบโต 10% CAGR ระหว่างปี 2022-2030 โดยไทยถือเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านหัตถการและศัลยกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การเติบโตของตลาดนี้เกิดจากการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y ผู้หญิง และ LGBTQIA+ ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลรูปลักษณ์และใช้บริการด้านเวชศาสตร์ความงามมากขึ้น
แนวโน้มและข้อแนะนำทางธุรกิจ
การตั้งราคาที่เข้าถึงง่ายและการส่งเสริมแพ็กเกจที่ตอบโจทย์แต่ละบุคคลเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูดผู้บริโภคใหม่ ๆกลุ่ม Gen Y, Gen Z และผู้ชายจะเป็นฐานลูกค้าหลักในอนาคต เนื่องจากมีความต้องการดูแลตัวเองและภาพลักษณ์ที่เพิ่มมากขึ้น
ธุรกิจบริการเวชศาสตร์ความงามมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากจำนวนการใช้บริการหัตถการและ ศัลยกรรมความงามทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น