รวม 8 หมวดคำห้ามใช้โฆษณา สำหรับธุรกิจคลินิก 2025
- memarketthink
- 26 มี.ค.
- ยาว 2 นาที

ผู้ประกอบการธุรกิจคลินิกและสถานพยาบาลต้องรู้คำโฆษณาที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ตามกฎของ สบส. และแพทย์สภาเพื่อให้การสื่อสารกับลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธภาพและถูกกฎหมาย มาดูกันว่า 8 หมวดคำห้ามโฆษณาอะไรบ้าง
1 ผลิตภัณฑ์ที่ห้ามโฆษณา

คำห้ามใช้โฆษณา
>PRP
>STEM CELL
>ANTI–AGING
>MESO FAT
>ปากกาลดน้ำหนัก
❌ฟิลเลอร์เป็นคำห้ามใช้โฆษณาว่าฉีดเพิ่มขนาดอวัยวะเพศที่แสดงว่ามันใหญ่หรือแข็งแรงขึ้น
✅ใช้คำที่สื่อถึงพฤติกรรมของคน เช่น “ปฏิบัติการพิชิตใจเธอ” หรือ “สื่อรักถึงใจเธอ”
❌IV DRIP, สูตรพิเศษ, หรือ IV DRIP สูตรพิเศษ ห้ามใช้โฆษณา
✅ต้องแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นสารชนิดใด เช่น “วิตามินซีเสริมภูมิคุ้มกัน” หรือ “บำรุงผิวด้วยโปรแกรมวิตามิน”
2 คำห้ามโฆษณาชื่อโปรแกรมหมวดผลิตภัณฑ์ยา

หมวดกลุ่มตัวยา อนุญาตให้โฆษณาแค่ BOTOX
❌ฉีดโบท็อก, BOTOX, โบท็อก NABOTA
✅ต้องใส่คำว่าโปรแกรม หรือ PROGRAM นำหน้าทุกครั้งที่ใช้ เช่น “โปรแกรม BOTULINUM TOXIN” หรือ “PROGRAM ฉีด BOTOX” และห้ามแสดงขวดผลิตภัณฑ์ตัวจริง หรือโชว์ QR–CODE
3 คำห้ามใช้โฆษณาหมวดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ห้ามนำผลิตภัณฑ์ที่ อย. เพิกถอนไปแล้วมาโปรโมตใหม่ เช่น EXOSAME
❌ใช้ผลิตภัณฑ์ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกแต่นำมาโฆษณาในลักษณะฉีด โปรแกรมฉีด CHANEL, โปรแกรมฉีด REJURAN
✅ ต้องโปรโมตตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. เช่น “โปรแกรม CHANEL” หรือ “โปรแกรม REJURAN”
4 คำห้ามใช้โฆษณาเครื่องมือแพทย์

หากต้องการโฆษณาเครื่องมือแพทย์จะต้องมีเลขโฆษณาจากแบรนด์ และผู้ประกอบการของกิจการธุรกิจคลินิกที่ไปรับผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีเลขโฆษณาเรียบร้อยแล้วก็ต้องไปขอเลขโฆษณาใหม่อีกครั้งหรือเรียกสั้น ๆ ว่าเลข ฆพ. (เลขโฆษณาเครื่องมือแพทย์)
หมวดเครื่องมือแพทย์ขนาดเล็ก เป็นสารที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย
❌ โชว์กล่องผลิตภัณฑ์
✅ (พ.ร.บ. ปี 63 เครื่องมือแพทย์ใช้ชื่อโปรแกรม+ยี่ห้อ) เช่น “โปรแกรม EPTQ” หรือ “โปรแกรม REJURAN”
✅ใช้คำแจ้งบริการได้อย่างเดียว
✅ ใช้ “PROGRAM SCULPTRA” หรือ “โปรแกรมฉีดฟิลเลอร์” ได้
หมวดเครื่องมือแพทย์ขนาดใหญ่ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับผิวภายนอก
❌ใช้รูปหมอคู่กับเครื่องมือแพทย์
❌แสดงสรรพคุณ, ประโยชน์, คุณภาพ, ส่วนประกอบ, มาตรฐาน, แหล่งกำเนิด
✅ใช้ชื่อโปรแกรมต่อด้วยชื่อเครื่อง เช่น โปรแกรม ULTHERE
✅หากต้องการใช้ภาพเครื่องมือแพทย์ทั้งเครื่องในการโฆษณา ต้องขออนุญาตจาก อย. เพื่อขอรับเลข ฆพ. โดยมีระยะเวลาอนุญาตไม่เกิน 5 ปี
✅แสดงชื่อทางการค้า, เครื่องหมายการค้า, ตราสัญญาลักษณ์ ทั้งนี้จะต้องมีคำว่าโปรแกรมนำหน้าด้วย
5 คำห้ามใช้โฆษณาภาพบุคคล

ภาพ Before-After
❌ซื้อภาพรีวิวจากที่อื่น หรือนำภาพจากบริษัทเจ้าของแบรนด์มาใช้
❌ตกแต่งภาพเพิ่มเติมด้วยการปรับแสง หรือใช้โปรแกรมตกแต่งรูป
✅เป็นคนไข้ของโรงพยาบาลหรือคลินิกจริง
✅ใช้ภาพจริง และได้รับการยินยอมจากคนไข้
✅ระบุวัน เดือน ปี ที่เข้ารับบริการอย่างชัดเจน
✅มีคำว่า “ใช้เป็นตัวอย่าง ผลจากการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย” กำกับไว้ต่อท้ายรูปภาพเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน
6 คำห้ามใช้โฆษณาเกี่ยวกับแพทย์

สิ่งที่ห้ามทำ
❌แพทย์ PART–TIME
❌จัดอบรมในสถานพยาบาลหรือเข้ารับการอบรมที่ไม่ได้รับรอง
❌แสดงผลิตภัณฑ์, เครื่องหมายการค้า, หรือยี่ห้อคู่กับแพทย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
❌แสดงข้อความหรือภาพที่ชี้ว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
❌แพทย์ทำหัตถการด้วยตัวเอง เช่น ฉีดหน้าตัวเอง หรือใช้เครื่องลิฟกรอบหน้า
❌ไลฟ์สดขณะที่สวมชุดยูนิฟอร์มทางการแพทย์ในสถานพยาบาล
❌ใช้ดารา หรือ PRESENTER ที่สื่อว่าเป็นแพทย์
สิ่งที่ควรทำ
✅แสดง ชื่อ-สกุล จริง เป็นภาษาไทย
✅แสดงเลข ว. (ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม)
✅เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลและมี สพ.6 (หนังสือแสดงความจำนงเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของ
ผู้ประกอบวิชาชีพ)
✅แสดงเลขที่อนุมัติโฆษณาในสื่อที่ได้รับอนุมัติ
✅หลักสูตรอบรมแพทย์สภาที่ได้รับการรับรองให้โฆษณาได้ (มีประทับตราหลักสูตร)
✅แสดงข้อความหรือภาพที่ชี้ว่าเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่แพทย์สภาอนุญาต เช่น แพทย์ที่จบเฉพาะทางสามารถโฆษณาได้
✅ใช้ดารา หรือ PRESENTER ที่สื่อว่าเป็นแพทย์ ด้วยการสวมชุดยูนิฟอร์มทางการแพทย์ในการถ่ายทำภาพยนต์ ซึ่งมีการนำ STORYBOARD ไปขออนุญาตเรียบร้อย
7 การโฆษณาการรับรางวัล

❌ภาพการรับรางวัลของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
❌ภาพหรือข้อความที่สื่อว่าเหนือกว่าที่อื่น เช่น การันตีด้วยรางวัลมากมาย, 1 ใน 20 คลินิกที่ดีที่สุด, หรือยอดซื้อสูงสุด
✅ภาพการรับโล่มาตรฐานสากล เช่น JCI, ACI (และระบุวันที่ได้มาอย่างชัดเจน)
8 รวมคำถาม Q & A

Q : โพสต์ลง Facebook แต่ไม่ได้ยิงแอดถือเป็นการโฆษณาหรือไม่
A : Facebook มีช่องทางติดต่อและมีเรื่องราว จึงถือเป็นการโฆษณา (ดังนั้นต้องยื่นคำขอโฆษณา)
Q : อินฟลูเอนเซอร์ที่กล่าวถึงสถานพยาบาลหรือผลิตภัณฑ์สามารถลงในช่องของตัวเองได้หรือไม่
A : สามารถกล่าวถึงได้แต่ต้องขออนุมัติก่อน และห้ามชี้นำที่เอื้อประโยชน์ต่อคลินิกหากไม่ได้รับการอนุมัติ
Q : คำว่าโปรแกรม กับไม่มีโปรแกรม แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
A : การใช้ชื่อยาและเครื่องมือแพทย์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. ยา จึงกำหนดให้ใช้คำว่า “โปรแกรม” แทนชื่อยา โดยยาที่อนุญาตให้ใช้ชื่อเดียวคือ “โปรแกรมฉีดโบท็อก” และอนุญาตให้ใช้ชื่อเครื่องมือแพทย์ร่วมกับชื่อยี่ห้อได้
Q : สถานพยาบาลสามารถโฆษณาราคาได้ไหม
A : สามารถโฆษณาได้ แต่ต้องตรงไปตรงมา
Q : คลินิกสามารถไลฟ์สดในสถานพยาบาลอย่างไรได้บ้าง
A : หากต้องการไลฟ์สดไม่ควรไลฟ์เกี่ยวกับการแจ้งบริการหรือในห้องหัตถการ แต่สามารถไลฟ์ในเชิงบรรยากาศ อาคาร สถานที่ได้
Q : การโฆษณาของเซลล์หรือเอเจนซี่สามารถโฆษณาได้อย่างไรบ้าง
A : เอเจนซี่ที่ต้องการนำคลินิกมาโฆษณาบนหน้าเพจของตัวเองต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าก่อน